พระพรหมมุนี (วิน ธมฺมสาร) วัดราชผาติการาม แสดง
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง
ภาคเช้า กัณฑ์อุโบสถ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. ฉหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ทิฏฺเฐว ธมฺเม สุขโสมนสฺสพหุโล วหรตีติ.
บัดนี้ จักวิสัชนาพระธรรมเทศนา พรรณนาเรื่องการสร้างสวนสุขทางใจ เพื่อเป็นธรรมเทศนามัย อบรมปัญญา ปลูกสัทธา ความเชื่อ ปสาทะ ความเลื่อมใส ของท่านสาธุชนพอสมควรแก่เวลา พรรณนาความตามพุทธภาษิต ที่ได้ตั้งเป็นนิเขปบท ณ เบื้องต้น นั้นว่า ฉหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ทิฏฺเฐว ธมฺเม สุขโสมนสฺสพหุโล วิหรติ ความว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ปฏิบัติประกอบด้วย ธรรม ๖ ประการนั้น คือ ธมฺมาราโม มีธรรมเป็นที่มายินดี ๑ ภาวนาราโม มีภาวนาเป็นที่มายินดี ๑ ปหานาราโม มีการละเป็นที่มายินดีหนึ่ง ปวิเวการาโม มีปวิเวกเป็นที่มายินดี ๑ อพฺยาปชฺฌาราโม มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ๑ นิปฺปปญฺจาราโม มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ๑
ข้อธรรมในพุทธภาษิตนี้ มีคำว่าอารามต่อท้ายทุกบท เช่น ธมฺมาราม ภาวนาราม เป็นต้น อาราม แปลว่าเป็นที่มายินดี แปลเป็นคำไทยว่าสวน เช่นอัมพาราม สวนมะม่วง นาลิการาม สวนมะพร้าว ทุริยาราม สวนทุเรียน ที่เป็นชื่อของธรรมก็เป็นสวนทางใจ หรือจะเรียกว่า มนอุทยาน อุทยานทางใจ เมื่อเพ่งถึงผลว่าเมื่อประพฤติตามธรรม ๖ ประการนั้นแล้ว ย่อมได้สุขกายสบายใจ หรือสร้างสวนสนุก หรือเรียกว่าสร้างสวนครัวทางใจก็ได้ มีอธิบายเป็นลำดับไป
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง
ภาคเช้า กัณฑ์อุโบสถ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. ฉหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ทิฏฺเฐว ธมฺเม สุขโสมนสฺสพหุโล วหรตีติ. บัดนี้ จักวิสัชนาพระธรรมเทศนา พรรณนาเรื่องการสร้างสวนสุขทางใจ เพื่อเป็นธรรมเทศนามัย อบรมปัญญา ปลูกสัทธา ความเชื่อ ปสาทะ ความเลื่อมใส ของท่านสาธุชนพอสมควรแก่เวลา พรรณนาความตามพุทธภาษิต ที่ได้ตั้งเป็นนิเขปบท ณ เบื้องต้น นั้นว่า ฉหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ทิฏฺเฐว ธมฺเม สุขโสมนสฺสพหุโล วิหรติ ความว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ปฏิบัติประกอบด้วย ธรรม ๖ ประการนั้น คือ ธมฺมาราโม มีธรรมเป็นที่มายินดี ๑ ภาวนาราโม มีภาวนาเป็นที่มายินดี ๑ ปหานาราโม มีการละเป็นที่มายินดีหนึ่ง ปวิเวการาโม มีปวิเวกเป็นที่มายินดี ๑ อพฺยาปชฺฌาราโม มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ๑ นิปฺปปญฺจาราโม มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ๑ ข้อธรรมในพุทธภาษิตนี้ มีคำว่าอารามต่อท้ายทุกบท เช่น ธมฺมาราม ภาวนาราม เป็นต้น อาราม แปลว่าเป็นที่มายินดี แปลเป็นคำไทยว่าสวน เช่นอัมพาราม สวนมะม่วง นาลิการาม สวนมะพร้าว ทุริยาราม สวนทุเรียน ที่เป็นชื่อของธรรมก็เป็นสวนทางใจ หรือจะเรียกว่า มนอุทยาน อุทยานทางใจ เมื่อเพ่งถึงผลว่าเมื่อประพฤติตามธรรม ๖ ประการนั้นแล้ว ย่อมได้สุขกายสบายใจ หรือสร้างสวนสนุก หรือเรียกว่าสร้างสวนครัวทางใจก็ได้ มีอธิบายเป็นลำดับไป | ||
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘
อพฺยาปชฺฌาราม มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี
ความไม่เบียดเบียน เป็นประการ ที่ ๕ การก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่นโดยอ้อม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ชื่อว่าเบียดเบียน แม้เพียงคิด . .
ความไม่เบียดเบียน เป็นประการ ที่ ๕ การก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่นโดยอ้อม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ชื่อว่าเบียดเบียน แม้เพียงคิด . .
| ||
0 comments:
แสดงความคิดเห็น